17 NOV 2021 บทความผลิตภัณฑ์ 2 นาทีในการอ่าน 1701 VIEWS

กลิสเทอร์ คิดส์ ดูแลอย่างมั่นใจ เริ่มได้ที่ฟันน้ำนม | นิตยสารอะชีฟ ฉบับธันวาคม 2564

dec21-body1-03.png dec21-body1-09.png
dec21-body1-04.png

จำนวน: 4 ด้าม/กล่อง
รหัส 120522
ราคาสมาชิก 420 บาท
ราคาขายปลีก 460 บาท
P140 B420

order.png

dec21-body1-05.png

น้ำหนักสุทธิ 85 กรัม
รหัส 120537
ราคาสมาชิก 175 บาท
ราคาขายปลีก 190 บาท
P58 B175

order.png

dec21-body1-10.png

dec21-body1-06.png

โดย ทพญ.สุวานี กานตานันทะ
ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์

dec21-body1-07.png

ถ้าเราดูจากภาพตัดของฟันน้ำนมเปรียบเทียบกับฟันแท้จะเห็นได้ว่า ความหนาของชั้นเคลือบฟันของฟันน้ำนม มีความหนาแค่ครึ่งหนึ่งของฟันแท้เท่านั้น และยังมีโพรงประสาทฟันขนาดใหญ่ ทำให้เมื่อมีฟันผุก็จะสามารถลุกลามเข้าสู่โพรงประสาทฟันได้ง่าย นอกจากนี้ในโครงสร้างของฟันน้ำนมยังมีปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสน้อยกว่าฟันแท้ ด้วยลักษณะที่กล่าวไปทำให้ฟันน้ำนมมักจะผุเร็วจนไม่ทันตั้งตัว เผลออีกทีฟันผุก็เป็นรูใหญ่แล้ว คงไม่มีใครที่อยากให้ลูกฟันผุ เพียงแต่คุณยังไม่รู้วิธีว่าต้องทำอย่างไรฟันของลูกรักจะไม่ผุต่างหาก


dec21-body1-08.png


อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะยังสงสัยว่า 2 เคล็ดลับที่หมอบอกข้างต้นจะช่วยป้องกันฟันผุได้อย่างไร เพื่อให้คลายจากความสงสัยนี้ หมอขออธิบายกลไกการเกิดฟันผุให้เข้าใจกันก่อน ฟันของคนเรานั้นไม่ว่าจะเป็นฟันแท้หรือฟันน้ำนมก็มีกลไกการเกิดฟันผุแบบเดียวกัน กล่าวคือ คราบพลัคหรือที่เรียกกันว่า ขี้ฟัน ซึ่งเกาะอยู่บนผิวฟันนั้น แท้จริงแล้วคือกลุ่มของแบคทีเรียที่มาอาศัยอาหารจำพวกน้ำตาลที่เหลือค้างอยู่ในช่องปากและผิวฟัน เมื่อแบคทีเรียกินอาหารจำพวกน้ำตาลเสร็จจะปล่อยกรดออกมา (pH ต่ำ) ซึ่งกรดนี้จะทำลายโครงสร้างของฟันที่คราบพลัคนั้นยึดติดอยู่ ทำให้โครงสร้างหลักของฟัน (Hydroxyapatite) เปลี่ยนแปลงไป แต่เนื่องจากฟันเป็นอวัยวะที่สามารถแลกเปลี่ยนแร่ธาตุเข้าออกได้ตลอดเวลา ถ้าในขณะนั้นในน้ำลายมีแร่ธาตุพวกแคลเซียมฟอสเฟตหรือฟลูออไรด์ที่เหมาะสม มันจะสามารถคืนกลับแร่ธาตุเข้าไปในโครงสร้างฟันได้

dec21-body1-11.png


ถ้าการคืนกลับแร่ธาตุน้อยกว่าการทำลายก็จะเกิดฟันผุขึ้น แต่ถ้าการคืนกลับแร่ธาตุเกิดมากก็จะส่งผลดี ทำให้โครงสร้างของเคลือบฟันที่เป็นฟันผุในระยะเริ่มต้น หรือมีการละลายแร่ธาตุไปบางส่วนนั้นสามารถซ่อมแซมตนเองให้กลับมาเป็นฟันที่ปกติได้ จากกลไกที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงสรุปได้ว่า หากเราสามารถกำจัดคราบพลัคด้วยการแปรงฟันออกไปได้หมดก็จะไม่มีกรดมาทำลายฟัน และจะดียิ่งขึ้นหากมีฟลูออไรด์จากยาสีฟันมาช่วยคืนกลับแร่ธาตุซ่อมแซมส่วนที่ถูกทำลายไปให้มากที่สุด

dec21-body1-12.png

dec21-body1-13.png dec21-body1-17.png

ควรเลือกที่มีขนแปรงนิ่มพิเศษ ขนาดเล็ก เหมาะกับช่องปากน้องแต่ละวัย นอกจากนี้หมอไม่แนะนำให้ซื้อแปรงสีฟันรูปตัวยูเกือกม้า ที่มักจะเห็นในโฆษณาทางออนไลน์ว่ามีประสิทธิภาพกว่าแปรงสีฟันปกติ

dec21-body1-14.png dec21-body1-18.png

ควรมีรสชาติอ่อนโยน ไม่ระคายเคืองช่องปาก ไม่มีสารที่เด็กแพ้ง่าย มีตัวยาฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ และมีผงขัดฟันชนิดละเอียด ซึ่งทดสอบได้ง่ายๆ โดยใช้นิ้วบี้เนื้อยาสีฟันให้ละเอียด ถ้ารู้สึกถึงความสากหรือรู้สึกว่ามีเม็ดๆในเนื้อยาสีฟัน แปลว่ายังไม่ละเอียดพอ

dec21-body1-16.png
หากเด็กได้รับปริมาณฟลูออไรด์มากเกินไป อาจเป็นพิษกับร่างกายและอาจทำให้ฟันตกกระได้ ดังนั้นต้องให้น้องบ้วนยาสีฟันออกให้หมดหลังแปรงฟัน เพื่อหลีกเลี่ยงการกลืนยาสีฟัน

dec21-body1-19.png