02 FEB 2025 บทความผลิตภัณฑ์ 2 นาทีในการอ่าน 1141 VIEWS

3 องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ถ้าอยากมีสุขภาพลำไส้ที่ดี | นิตยสารอะชีฟ ฉบับกันยายน 2567

3 องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้
ถ้าอยากมีสุขภาพลำไส้ที่ดี

Health_2024_sep_p22_no1.png

คืออาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปของใยอาหาร ซึ่งร่างกายของมนุษย์ย่อยและดูดซึมไม่ได้ แต่อาหารจำพวกนี้ถูกย่อยและดูดซึมได้โดยจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้

Health_2024_sep_p22_b1.png

พบที่ได้ที่ไหน

พบมากในอาหารจำพวกผักผลไม้ และสมุนไพรต่างๆ เช่น รากชิโครี หัวหอม กระเทียม ข้าวบาร์เลย์ กล้วย กีวี แครอท

หน้าที่ของพรีไบโอติก

Health_2024_sep_p22_icon1_11.png

ส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น

Health_2024_sep_p22_icon1_12.png

มีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

Health_2024_sep_p22_icon1_13.png

มีส่วนช่วยในระบบย่อยอาหารและขับถ่าย


Health_2024_sep_p22_no2.png

คือกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ดี โดยมีอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมของจุลินทรีย์ เรียกว่า “ไมโครไบโอม” เมื่อเรามีไมโครไบโอมที่สมดุล (มีจุลินทรีย์ที่ดีมากกว่าจุลินทรีย์ที่ไม่ดี) จะทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น

พบได้ที่ไหน

พบมากในอาหารจำพวกหมักดอง เช่น โยเกิร์ต กิมจิ ซาวร์เคราต์ มิโสะ เทมเป้ นัตโตะ และยังพบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีจุลินทรีย์คุณภาพ ซึ่งควรมีสายพันธุ์แล็กโทบาซิลลัส และบิฟิโดแบคทีเรียม เนื่องจากเป็นสายพันธุ์หลักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

หน้าที่ของโพรไบโอติก

Health_2024_sep_p22_icon2_11.png

การเพิ่มจุลินทรีย์ดีในร่างกาย ทำให้ลำไส้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น

Health_2024_sep_p22_icon2_12.png

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบย่อยอาหารและขับถ่าย

Health_2024_sep_p22_icon2_13.png

มีส่วนช่วยในการลดความอ้วนและลดการอักเสบ

Health_2024_sep_p22_icon2_14.png

เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

โพรไบโอติกที่ดีต้องทนกรดและยึดเกาะติดผนังลำไส้ จึงจะทำให้สร้างสมดุลลำไส้ได้ดียิ่งขึ้น

Health_2024_sep_p22_no3.png

คือสารประกอบหรือส่วนต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อจุลินทรีย์ดี "โพรไบโอติก" ได้รับสารอาหาร "พรีไบโอติก" จะสร้างสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่เรียกว่า สารเมตาบอไลท์หรือ โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งหมดนี้จะเรียกว่า "โพสไบโอติก" ซึ่งมีงานวิจัยรองรับว่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมหาศาล

Health_2024_sep_p22_b2.png

พบได้ที่ไหน

ไม่สามารถพบในแหล่งอาหารทั่วไปโดยตรง ร่างกายผลิตโพสไบโอติกได้เอง หากมีโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่เหมาะสม และได้รับพรีไบโอติกเพียงพอ

หน้าที่ของโพสไบโอติก

Health_2024_sep_p22_icon3_11.png

ช่วยลดไขมันในช่องท้อง

Health_2024_sep_p22_icon3_12.png

ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

Health_2024_sep_p22_icon3_13.png

ช่วยลดรอบเอว

Health_2024_sep_p22_icon3_14.png

ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้

Health_2024_sep_p22_icon3_15.png

ช่วยลดการอักเสบและช่วยเพิ่มการเผาผลาญ


ผลิตภัณฑ์ใหม่ “โพสไบโอติก” ให้จุลินทรีย์ช่วยคุณลดไขมันในช่องท้อง

Health_2024_sep_p22_3p_1.png

นอกจากตัวเลขบนเครื่องชั่งน้ำหนักแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยนั่นก็คือปริมาณ “ไขมันในช่องท้อง” ซึ่งเป็นปัญหาของหลายคนที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่กลับมีไขมันในช่องท้องมาก ซึ่งสิ่งนี้เปรียบเสมือนภัยเงียบเพราะไขมันในช่องท้องจะปล่อยสารแห่งการอักเสบและกรดไขมันอิสระเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตามมา


ในผลิตภัณฑ์ใหม่ โพสไบโอติก
มีส่วนประกอบสำคัญคือ

โพสไบโอติก HTBPL-1 (Heat-Treated BPL-1)
Health_2024_sep_p22_icon4_11.png

ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเข้าไปหายีนที่มีหน้าที่ย่อยสลายไขมัน กระตุ้นให้ทำงานดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ส่งสัญญาณเข้าไปหายีนซึ่งทำหน้าที่กักเก็บไขมันให้ทำงานน้อยลง ส่งผลให้ไขมันในช่องท้องลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

กีวีสีทอง (Livaux)
Health_2024_sep_p22_icon4_12.png

มีส่วนช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดี เนื่องจากเป็นพรีไบโอติกชั้นยอด ทั้งยังมีงานวิจัยรองรับว่า กีวีสีทองส่งผลให้จุลินทรีย์ชนิดดีที่ชื่อ F.Prau เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งเป็นชนิดของจุลินทรีย์ที่มีมากที่สุดในร่างกาย และยังสร้างกรดไขมันสายสั้น Butyrate ที่มีส่วนช่วยในการลดการอักเสบในร่างกาย

แครอทสีม่วง
Health_2024_sep_p22_icon4_13.png

มีใยอาหารและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

วิตามิน B2 และ B5
Health_2024_sep_p22_icon4_14.png

มีส่วนช่วยในระบบเผาผลาญ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน พร้อมทั้งช่วยให้การทำงานของระบบประสาทเป็นปกติ

Health_2024_sep_p22_3p_2.png


ข้อมูลอ้างอิง

• https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22828956/
• https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9581195/
• https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31952249/
• https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37513229/
• https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32054443/
• https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37111100/
• https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37934614/
• https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28914794/