บทความโดยพญ. ภัทรลดา ฤทธิวงศ์ (หมอไอซ์)
แพทย์เวชศาสตร์ป้องกันและชะลอวัย
Gut Health หรือ สุขภาพลำไส้ ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อเรื่องของการย่อยอาหาร การขับถ่าย แต่ปัจจุบันมีงานวิจัยและการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมถึงความเกี่ยวข้องของสุขภาพลำไส้ที่ดีส่งผลต่อการลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ หลายคนอาจจะเคยประสบปัญหาในการลดน้ำหนัก อาจมีปัจจัยหนึ่งที่อาจจะลืมแต่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการปรับพฤติกรรม ปัจจัยดังกล่าวคือ สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้
จากการศึกษาเรื่องสมดุลจุลินทรีย์ส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักในปี 2013 ได้ทำการศึกษาในหนูทดลอง 2 กลุ่ม โดยมีการเก็บตัวอย่างอุจจาระจากฝาแฝด 4 คู่ ซึ่งมีน้ำหนักตัวแตกต่างกัน คือตัวหนึ่งอ้วนอีกตัวหนึ่งผอม
นักวิทยาศาสตร์ทำการปลูกถ่ายจุลินทรีย์จากอุจจาระของอาสาสมัครฝาแฝดให้กับหนูทดลอง จากนั้นให้อาหารที่มีไขมันสูง ไฟเบอร์ต่ำในระยะเวลาหนึ่ง ผลคือหนูทดลองที่ได้รับจุลินทรีย์จากแฝดที่อ้วนมีแนวโน้มที่จะน้ำหนักเพิ่มขึ้นและมีการเผาผลาญคล้ายกับคนอ้วน ในขณะที่หนูที่ได้รับจุลินทรีย์จากแฝดที่ผอมมีน้ำหนักคงที่และมีการเผาผลาญที่ดี
1.สุขภาพลำไส้ (Gut Health)
ลำไส้เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์จำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหาร ดูดซึมและผลิตสารสำคัญที่มีผลต่อการสร้างพลังงานระดับเซลล์รวมถึงการเผาผลาญ สมดุลฮอร์โมน การจัดการสารอักเสบในร่างกาย โดยปกติบริเวณผนังลำไส้ (Gut Barrier) ทำหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ พร้อมขับของเสียและสารพิษ
ซึ่งหากลำไส้เสียสมดุลทำให้เกิดภาวะ Leaky Gut (ภาวะลำไส้รั่ว) ซึ่งเกิดจากการมีช่องว่างเล็กๆ ระหว่างเซลล์เยี่อบุลำไส้มากขึ้น ช่องว่างที่เกิดขึ้นจะทำให้สารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย สารพิษ หรือแม้กระทั่งโมเลกุลของอาหารที่ย่อยไม่สมบูรณ์จะผ่านเข้ากระแสเลือดได้ ผลที่ตามมามักสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น การอักเสบเรื้อรัง ปัญหาโรคผิวหนังเรื้อรัง เบาหวานชนิดที่ 2 รวมถึงการลดน้ำหนักได้ยาก
สาเหตุของลำไส้รั่วมักเกิดจากการอักเสบเรื้อรัง, อาหารที่รับประทาน, สารเคมี, สารพิษ, ความเครียด, ยา และการเสียสมดุลจุลินทรีย์ ดังนั้นเมื่อต้องการลดน้ำหนักจึงต้องจัดการการอักเสบเรื้อรัง สร้างสมดุลจุลินทรีย์ และลดภาวะลำไส้รั่ว ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพด้านอื่นๆ ดีขึ้นด้วย
นอกจากนี้จุลินทรีย์ในลำไส้จะสร้างสารจากการหมักกากใยอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เรียกว่า Short Chain Fatty Acid (SCFA) หรือ โพสไบโอติก ซึ่งเป็นสารกลุ่มบิวเทรต(Butyrate), เปปไทด์, อะซีเตต ซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างสมดุลลำไส้ และการลดน้ำหนัก
2.ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat)
ไขมันที่สะสมภายในช่องท้องจะปล่อยกรดไขมันอิสระและสารแห่งการอักเสบเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิก เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และยังเป็นตัวบ่งชี้ว่าร่างกายมีการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลต่อการลดน้ำหนักโดยเฉพาะในการจัดการกับไขมันในช่องท้อง
จุลินทรีย์ในลำไส้มีบทบาทสำคัญในการทำงานและเผาผลาญไขมันในช่องท้อง
3.สมอง
สมองมีการสื่อสารกับลำไส้ทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากเรื่องทัศนคติเชิงบวกที่ช่วยในการลดน้ำหนักแล้ว ความเครียดก็ส่งผลต่อฮอร์โมน การควบคุมน้ำตาลในเลือด ทำให้เกิดการสะสมไขมัน และรบกวนการนอน
สรุปได้ว่า นอกจากการปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมความเครียด การใช้ยาหรือสารเคมี หรือการรับสารพิษรอบๆ ตัว สิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ รวมไปถึงสมดุลฮอร์โมนของร่างกายนั้น มีผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ทั้งสิ้น ควรปรับพฤติกรรมพร้อมกับการดูแลสุขภาพลำไส้ จะช่วยส่งเสริมจุลินทรีย์ให้สมดุลและทำให้สุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืน
ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในบทความ คลิกเลย
ไม่ว่าจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอม ก็มีโอกาสที่จะมีไขมันช่องท้องสะสมอยู่ได้และมีอันตรายมากกว่าที่คุณคิด เพราะไขมันช่องท้อง หรือ (Visceral Fat) จะถูกสะสมในช่องท้องรอบๆ อวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น ตับ ลำไส้ ตับอ่อน ซึ่งไม่เหมือนไขมันใต้ชั้นผิว(Subcutaneous Fat) ที่อยู่ตามต้นแขน ต้นขา ที่เราสามารถเห็นได้จากภายนอก
เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด | เพิ่มอัตราการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้เสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 |
ลดน้ำหนักได้ยากขึ้น | เกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคเมตาบอลิกและเกิดการสะสมของไขมันช่องท้องเพิ่มขึ้น |
รู้หรือไม่: พฤติกรรมสุขภาพบางอย่าง เช่น สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย ความเครียดสะสม นอนหลับไม่มีประสิทธิภาพ การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม หรือขาดสารอาหารบางอย่าง จะเพิ่มการอักเสบภายใน
พฤติกรรมของคนไทยมีโอกาสที่จะเกิดไขมันในช่องท้องมาก เนื่องจากอาหารมักมีส่วนผสมของน้ำตาล รับประทานอาหารแปรรูปมากขึ้น มีความเร่งรีบ ความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลอย่างมากในการเพิ่มการอักเสบ เสียสมดุลจุลินทรีย์ และ นำมาสู่การเกิดไขมันช่องท้อง ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาเฉพาะสำหรับการลดไขมันช่องท้อง การดูแลและป้องกันแบบองค์รวมคือ การปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม และดูแลสุขภาพลำไส้ จะช่วยป้องกันสาเหตุของการเกิดและ เป็นดูแลแบบยั่งยืนที่สุด
1. ปรับสมดุลจุลินทรีย์ โดยเพิ่มอาหารที่หลากหลาย ผักและ ผลไม้หลากสีจะช่วยเพิ่มความหลากหลายของจุลินทรีย์ เพราะว่าการเพิ่มจุลินทรีย์ดี (Probiotic) และอาหารของจุลินทรีย์ ดี (Prebiotic) จะช่วยให้จุลินทรีย์ที่ดีเติบโต ส่งผลต่อการ ลดไขมันช่องท้อง นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการช่วยลด กระบวนการสร้างการอักเสบในร่างกาย
2. ปรับอาหาร ควรเลี่ยงน้ำตาล สารให้ความหวาน และ ไขมันที่ทำให้เกิดการอักเสบ ควรเพิ่มไขมันชนิดดี เช่น อะโวคาโด หรือน้ำมันมะกอก เสริมด้วยอาหารที่ช่วยเสริมจุลินทรีย์ดีในลำไส้ เช่น กระเทียม หัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง
3 เสริมด้วยโพสไบโอติก เนื่องจากปัจจุบันมีการศึกษาเรื่องของโพสไบโอติกสายพันธุ์ต่างๆ ที่ช่วยให้ลดไขมันช่องท้องได้ และพบว่าจุลินทรีย์โพสไบโอติก (จุลินทรีย์ไม่มีชีวิต) HTBPL-1 ช่วยลดไขมันสะสมช่องท้องและรอบเอวได้อย่างมีนัยสำคัญ