19 OCT 2021 บทความผลิตภัณฑ์ 9 นาทีในการอ่าน 2283 VIEWS

รู้ลึกคอลลาเจน คอมเพล็กซ์ ตัวช่วยชั้นดีที่ไม่ได้ให้แค่ ผิวสวยเป๊ะปัง | นิตยสารอะชีฟ ฉบับมีนาคม 2564

รู้ลึก คอลลาเจน คอมเพล็กซ์

ตัวช่วยชั้นดีที่ไม่ได้ให้แค่ ผิวสวยเป๊ะปัง

mar21-health1-03.png

สงสัยไหมว่าพอเริ่มอายุมากขึ้นก็มักมีปัญหาต่างๆ เข้ามากวนใจไม่เว้นแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผิวที่ตั้งใจดูแลมาตลอด ทั้งเสียเงินซื้อสกินแคร์ทุกเดือน แต่ก็ยังมีริ้วรอยมากวนใจ หรือปัญหาปวดข้อ ปวดกระดูก ขยับนิดขยับหน่อยก็ดังกร๊อบแกร๊บ จะลุกนั่งก็ลำบาก หรือปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะภายในอย่างหัวใจที่ทุกวันนี้มีเรื่องให้ตกใจไม่เว้นแต่ละวัน ต้องเร่งดูแลกันซะหน่อย สถาบันสุขภาพ นิวทริไลท์ (Nutrilite Health Institute) ไม่นิ่งนอนใจ จะพาทุกคน ไปรู้จักกับพระเอกที่จะช่วยดูแลทุกปัญหา ให้ทุกคนผิวสวย ครบแถมสุขภาพดีได้ในตัวเดียว

mar21-health1-05.png

คอลลาเจน เป็นโปรตีนที่มีมากที่สุดในร่างกาย คิดเป็น 1 ใน 3 ของโปรตีนทั่วร่างกาย
โดยคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของผิวหนัง ผม เล็บ กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น นอกจากนั้นยังสามารถพบคอลลาเจนได้ในส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย เช่น หลอดเลือด กระจกตา และฟัน โดยคำว่าคอลลาเจน ในภาษาอังกฤษ อย่าง Collagen มีที่มามาจากคำภาษากรีกคำว่า “kólla” ซึ่งแปลว่า “กาว” ดังนั้น คอลลาเจนจึงมีคุณสมบัติในการยึดเกาะสิ่งต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันคล้ายกับกาวนั่นเอง

โดยร่างกายของเรานั้นสามารถผลิตคอลลาเจนได้เอง แต่สำหรับผู้ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ร่างกายจะผลิตคอลลาเจนได้น้อยลงและเส้นใยคอลลาเจนจะอ่อนแอลง ซึ่งสัญญาณอย่างหนึ่งที่มองเห็นได้คือ ผิวของทุกคนไม่เต่งตึง ความยืดหยุ่นอ่อนนุ่มลดน้อยลง และมีอาการปวดตามข้อต่อเพราะกระดูกอ่อนอ่อนแอลงตามอายุ

mar21-health1-06.png

คอลลาเจนมีหลายชนิด และแตกต่างกันไปตามหน้าที่ในร่างกาย แต่ที่สำคัญและควรรู้จักมี 3 ชนิด ได้แก่
คอลลาเจนชนิดที่ 1 (Collagen type I) เป็นชนิดที่มีมากที่สุดในร่างกาย พบที่ผิวหนัง กระดูก
คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen type II) ทำจากเส้นใยที่หลวมกว่า และพบได้ในกระดูกอ่อนตามข้อต่อ
คอลลาเจนชนิดที่ 3 (Collagen type III) พบได้ในผิวหนัง กล้ามเนื้อ อวัยวะภายใน และหลอดเลือดแดง
mar21-health1-04.png

mar21-health1-07.png

mar21-health1-08.png

คอลลาเจนกับสุขภาพผิว จากงานวิจัยโดยแอมเวย์ประเทศจีน ได้มีการทดลองให้ผู้หญิงที่มีภาวะฝ้าที่ใบหน้า รับประทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยคอลลาเจนเปปไทด์ เปปไทด์จากถั่วเหลือง และสารสกัดจากดอกเก๊กฮวย 10 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 60 วัน พบว่ารอยดำที่ฝ้าจางลง เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทาน นอกจากนี้เมื่อสังเกตผู้หญิงที่รับประทานคอลลาเจน 2.5 - 5 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าผิวแห้งน้อยลงและความยืดหยุ่นของผิวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานคอลลาเจนและจากการทดลองให้ผู้หญิงที่ดื่มเครื่องดื่มผสมกับคอลลาเจนทุกวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าผิวมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นและความลึกของริ้วรอยลดลงอย่างมาก

mar21-health1-13.png
mar21-health1-09.png

คอลลาเจนกับอาการปวดข้อ จากการศึกษาพบว่า เมื่อให้นักกีฬารับประทานคอลลาเจน 10 กรัมทุกวันเป็นเวลา 24 สัปดาห์ พบว่าอาการปวดข้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน นอกจากนี้ผู้ใหญ่ที่รับประทานคอลลาเจน 2 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 70 วัน พบว่าช่วยลดอาการปวดข้อได้อย่างมีนัยสำคัญและสามารถมีส่วนร่วมในการออกกำลังกายได้ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานอีกด้วย

mar21-health1-15.png
mar21-health1-10.png

คอลลาเจนกับมวลกระดูก จากการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานอาหารเสริมแคลเซียมร่วมกับคอลลาเจน 5 กรัมทุกวัน เทียบกับการรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมอย่างเดียวทุกวันเป็นเวลา 12 เดือน พบว่าผู้หญิงที่รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมและคอลลาเจนมีระดับโปรตีนในเลือดที่ส่งเสริมการสลายกระดูกลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าผู้ที่รับประทานแคลเซียมเพียงอย่างเดียว

mar21-health1-16.png
mar21-health1-11.png

คอลลาเจนกับมวลกล้ามเนื้อ จากการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อในผู้ที่เป็นโรคซาร์โคพีเนีย หรือภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยที่มักพบในผู้สูงอายุ และเมื่อให้ผู้ชายที่กล้ามเนื้อน้อย เสริมคอลลาเจน 15 กรัม ขณะเข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกายทุกวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับผู้ชายที่ออกกำลังกายแต่ไม่ได้รับประทานคอลลาเจน พบว่ามีมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

mar21-health1-14.png
mar21-health1-12.png

คอลลาเจนกับสุขภาพหัวใจ จากการศึกษาพบว่า คอลลาเจนเป็นโครงสร้างของหลอดเลือดแดง หากคอลลาเจนมีไม่เพียงพอ หลอดเลือดแดงอาจอ่อนแอและเปราะบาง นำไปสู่การตีบตันของหลอดเลือด อาการหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง โดยมีการทดลองให้ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงรับประทานคอลลาเจน 16 กรัมทุกวันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าความแข็งของหลอดเลือดลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับก่อนที่จะเริ่มรับประทานคอลลาเจน

mar21-health1-33.png

mar21-health1-17.png

mar21-health1-26.png


คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่มีความพิเศษเพราะมีกรดอะมิโน 3 ชนิดที่พบได้น้อยในอาหารอื่นๆ ได้แก่ ไกลซีน โพรลีน และไฮดรอกซีโพรลีน โดยทุกคนสามารถช่วยให้ร่างกายผลิตโปรตีนที่สำคัญนี้ได้โดยการรับประทานสารอาหารดังต่อไปนี้


mar21-health1-18.png

วิตามินซี
พบมากในผลไม้รสเปรี้ยว พริกหวาน และสตรอเบอร์รี

mar21-health1-20.png

โพรลีน
พบมากในไข่ขาว จมูกข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์จากนม กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง และเห็ด

mar21-health1-19.png

ไกลซีน
พบมากในหนังหมู หนังไก่ และเจลาติน หรืออาหารที่มีโปรตีนสูงต่างๆ

mar21-health1-21.png

ทองแดง
พบมากในเนื้อสัตว์ เมล็ดงา ผงโกโก้ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วเลนทิล

นอกจากนี้ ร่างกายของเรายังต้องการโปรตีนคุณภาพสูงที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นในการสร้างโปรตีนใหม่ เช่นโปรตีนจากพืชซึ่งเป็นแหล่งของกรดอะมิโนชั้นยอด
mar21-health1-25.png

mar21-health1-27.png

mar21-health1-22.png

การรับประทานน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต
ที่ผ่านการขัดสีมากเกินไป น้ำตาลจะขัดขวางความสามารถของคอลลาเจนในการซ่อมแซมตัวเอง ควรลดการบริโภคน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีให้น้อยที่สุด

mar21-health1-23.png

การได้รับแสงแดดมากเกินไป
เนื่องจากรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นตัวการสำคัญที่ทำลายและลดการสร้างคอลลาเจนดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดมากเกินไป และป้องกันผิวด้วยการทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ

mar21-health1-24.png

การสูบบุหรี่ทำให้การสร้างคอลลาเจนลดลง
ส่งผลให้แผลหายช้าลงและทำให้เกิดริ้วรอยมากขึ้น

mar21-health1-31.png

เนื่องจากคอลลาเจนสามารถช่วยแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลาย การบริโภคสารอาหารต่างๆ ที่ช่วยสร้างคอลลาเจนอาจไม่เพียงพอ ทำให้หลายคนเลือกที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์คอลลาเจนเสริมเข้าไปอีกด้วย โดยผลิตภัณฑ์คอลลาเจนที่ดี มักจะมีส่วนผสมของ คอลลาเจน คอมเพล็กซ์ ที่ประกอบด้วย คอลลาเจนเปปไทด์จากปลาทะเล เปปไทด์จากถั่วเหลือง และสารสกัดจากดอกเก๊กฮวยขาว ที่มีคุณสมบัติที่ส่งเสริมการทำงานของกันและกันในการเพิ่มการสร้างคอลลาเจนในร่างกาย โดยนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่า คอลลาเจน คอมเพล็กซ์ มีส่วนช่วยให้ผิวกระจ่างใสเพิ่มขึ้น 15% และเม็ดสีผิวลดลง 20% ใน 60 วันอีกด้วย

mar21-health1-28.png mar21-health1-29.png mar21-health1-30.png

คอลลาเจนเปปไทด์จากปลาทะเล มีกรดอะมิโน ไกลซีน โพรลีน และไฮดรอกซีโพรลีน ที่สามารถดูดซึมนำไปสร้างเป็นคอลลาเจนภายในร่างกายได้ดี และยังมีคุณสมบัติเพิ่มการสร้างกรดไฮยาลูรอนิกที่ช่วยเก็บกักความชุ่มชื้นในผิว
เปปไทด์จากถั่วเหลือง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ยอดเยี่ยมโดยธรรมชาติ และยังมีงานวิจัยพบว่า เปปไทด์จากถั่วเหลืองมีส่วนช่วยเพิ่มการสร้างคอลลาเจนชนิดที่ 1 ซึ่งพบมากที่ผิวหนัง
สารสกัดจากดอกเก๊กฮวยขาว เป็นสมุนไพรจีนที่มีการใช้เพื่อบำรุงสุขภาพกันมาอย่างยาวนาน ทั้งการใช้ บำรุงตับ สายตา และผิวพรรณ เนื่องจากฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่สูงมาก และเมื่อนำมาใช้ร่วมกับคอลลาเจนเปปไทด์ กลับให้ผลในการลดการสร้างเม็ดสีผิวได้

การเสริมคอลลาเจนให้กับร่างกายนั้นมีความเกี่ยวข้องกับประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ ทั้งการช่วยปรับปรุงสุขภาพผิวโดยการเพิ่มความยืดหยุ่น ลดริ้วรอย และความแห้งกร้าน นอกจากนี้ยังอาจช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกและบรรเทาอาการปวดข้อและช่วยเรื่องสุขภาพหัวใจอีกด้วย ดังนั้น ทุกคนควรบริโภคคอลลาเจนอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างผิวสวยสดใส พร้อมสุขภาพดีในทุกๆ วัน

mar21-health1-32.png

1. Kan J, Liu J, Chen Y, et al. (2018) A Clinical, Prospective, Randomized, Double-blind Trial Comparing the Efficacy of a Combination vs. Control as an Oral Intervention for Chloasma. Electronic J Biol. 14:1
2. Gui, M.; Kan, J.; Qu, D.; Chen, Y.; Luo, R.; Liu, Y.; Du, J. Instrumental Evaluation of the Depigmenting Efficacy of an Oral Supplementation Containing Peptides and Chrysanthemum Extract for the Treatment of Melasma. Cosmetics 2017, 4, 42.
3. Proksch E, Segger D, Degwert J, Schunck M, Zague V, Oesser S. Oral supplementation of specific collagen peptides has beneficial effects on human skin physiology: a double-blind, placebo-controlled study. Skin Pharmacol Physiol. 2014;27(1):47-55. doi: 10.1159/000351376. Epub 2013 Aug 14. PMID: 23949208.
4. Borumand M, Sibilla S. Effects of a nutritional supplement containing collagen peptides on skin elasticity, hydration and wrinkles. J Med Nutr Nutraceut 2015;4:47-53
5. Ganceviciene, Ruta et al. “Skin anti-aging strategies.” Dermato-endocrinology vol. 4,3 (2012): 308-19. doi:10.4161/derm.22804
6. Proksch E, Schunck M, Zague V, Segger D, Degwert J, Oesser S. Oral intake of specific bioactive collagen peptides reduces skin wrinkles and increases dermal matrix synthesis. Skin Pharmacol Physiol. 2014;27(3):113-9. doi: 10.1159/000355523. Epub 2013 Dec 24. PMID: 24401291.
7. Bello AE, Oesser S. Collagen hydrolysate for the treatment of osteoarthritis and other joint disorders: a review of the literature. Curr Med Res Opin. 2006 Nov;22(11):2221-32. doi: 10.1185/030079906X148373. PMID: 17076983.
8. Porfírio, Elisângela, & Fanaro, Gustavo Bernardes. (2016). Collagen supplementation as a complementary therapy for the prevention and treatment of osteoporosis and osteoarthritis: a systematic review. Revista Brasileira de Geriatria e Gerontologia, 19(1), 153-164. https://doi.org/10.1590/1809-9823.2016.14145
9. Clark KL, Sebastianelli W, Flechsenhar KR, Aukermann DF, Meza F, Millard RL, Deitch JR, Sherbondy PS, Albert A. 24-Week study on the use of collagen hydrolysate as a dietary supplement in athletes with activity-related joint pain. Curr Med Res Opin. 2008 May; 24(5):1485-96. doi: 10.1185/030079908x291967. Epub 2008 Apr 15. PMID: 18416885.
10. Schauss AG, Stenehjem J, Park J, Endres JR, Clewell A. Effect of the novel low molecular weight hydrolyzed chicken sternal cartilage extract, BioCell Collagen, on improving osteoarthritis-related symptoms: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. J Agric Food Chem. 2012 Apr 25;60(16):4096-101. doi: 10.1021/jf205295u. Epub 2012 Apr 16. PMID: 22486722.
11. Bello AE, Oesser S. Collagen hydrolysate for the treatment of osteoarthritis and other joint disorders: a review of the literature. Curr Med Res Opin. 2006 Nov;22(11):2221-32. doi: 10.1185/030079906X148373. PMID: 17076983.
12. Moskowitz RW. Role of collagen hydrolysate in bone and joint disease. Semin Arthritis Rheum. 2000 Oct;30(2):87-99. doi: 10.1053/sarh.2000.9622. PMID: 11071580.
13. Viguet-Carrin S, Garnero P, Delmas PD. The role of collagen in bone strength. Osteoporos Int. 2006;17(3):319-36. doi: 10.1007/s00198-005-2035-9. Epub 2005 Dec 9. PMID: 16341622.
14. Drake MT, Clarke BL, Lewiecki EM. The Pathophysiology and Treatment of Osteoporosis. Clin Ther. 2015 Aug;37(8):1837-50. doi: 10.1016/j.clinthera.2015.06.006. Epub 2015 Jul 7. PMID: 26163201.
15. Moskowitz RW. Role of collagen hydrolysate in bone and joint disease. Semin Arthritis Rheum. 2000 Oct;30(2):87-99. doi: 10.1053/sarh.2000.9622. PMID: 11071580.
16. Elam ML, Johnson SA, Hooshmand S, Feresin RG, Payton ME, Gu J, Arjmandi BH. A calcium-collagen chelate dietary supplement attenuates bone loss in postmenopausal women with osteopenia: a randomized controlled trial. J Med Food. 2015 Mar;18(3):324-31. doi: 10.1089/jmf.2014.0100. Epub 2014 Oct 14. PMID: 25314004.
17. König, Daniel et al. “Specific Collagen Peptides Improve Bone Mineral Density and Bone Markers in Postmenopausal Women-A Randomized Controlled Study.” Nutrients vol. 10,1 97. 16 Jan. 2018, doi:10.3390/nu10010097
18. Cefalu CA. Is bone mineral density predictive of fracture risk reduction? Curr Med Res Opin. 2004 Mar;20(3):341-9. doi: 10.1185/030079903125003062. PMID: 15025843.
19. Gillies, Allison R, and Richard L Lieber. “Structure and function of the skeletal muscle extracellular matrix.” Muscle & nerve vol. 44,3 (2011): 318-31. doi:10.1002/mus.22094
20. Zdzieblik, Denise et al. “Collagen peptide supplementation in combination with resistance training improves body composition and increases muscle strength in elderly sarcopenic men: a randomised controlled trial.” The British journal of nutrition vol. 114,8 (2015): 1237-45. doi:10.1017/S0007114515002810
21. Lodish H, Berk A, Zipursky SL, et al. Molecular Cell Biology. 4th edition. New York: W. H. Freeman; 2000. Section 22.3, Collagen: The Fibrous Proteins of the Matrix. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK21582/
22. Tomosugi, Naohisa et al. “Effect of Collagen Tripeptide on Atherosclerosis in Healthy Humans.” Journal of atherosclerosis and thrombosis vol. 24,5 (2017): 530-538. doi:10.5551/jat.36293
23. Hexsel D, Zague V, Schunck M, Siega C, Camozzato FO, Oesser S. Oral supplementation with specific bioactive collagen peptides improves nail growth and reduces symptoms of brittle nails. J Cosmet Dermatol. 2017 Dec;16(4):520-526. doi: 10.1111/jocd.12393. Epub 2017 Aug 8. PMID: 28786550.