20 MAY 2025 บทความผลิตภัณฑ์ 4 นาทีในการอ่าน 81 VIEWS

กล้ามเนื้อไม่มาสักที เพราะสร้างผิดวิธีนี่เอง! | นิตยสารอะชีฟ ฉบับมิถุนายน 2568

กล้ามเนื้อไม่มาสักที
เพราะ สร้างผิดวิธีนี่เอง!

กล้ามเนื้อเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างมากในร่างกายของเรา นอกจากทำให้มีรูปร่างภายนอกที่ดูดีแล้ว ยังมีบทบาทอื่นๆ อีกหลายด้าน เช่น การเคลื่อนไหวโดยรวม เพิ่มประสิทธิภาพระบบเผาผลาญ และมีผลต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกาย ดังนั้น การมีมวลกล้ามเนื้อย่อมส่งผลดีต่อร่างกายทั้งภายในและภายนอก

การเพิ่มมวลกล้ามเนื้อมีหลายปัจจัยที่ต้องดูแลควบคู่กันไป ดังนี้


1. รับประทานโปรตีน

ให้เพียงพอแต่ความต้องการคือ 1.5 - 2.0 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

2. รับประทานอาหาร

ให้ได้แคลอรีเพียงพอสำหรับพลังงานที่ร่างกายใช้ในแต่ละวัน

3. การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน

3 - 5 วัน ให้ได้รวมกัน 150 - 300 นาทีต่อสัปดาห์

4. พักผ่อนให้เพียงพอและนอนอย่างมีคุณภาพ

7 - 9 ชั่วโมงต่อวัน

5. ลดความเครียด

หาวิธีผ่อนคลายตัวเองจากสภาวะกดดัน


นอกจากปัจจัย 5 ข้อข้างต้นแล้ว ควรเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคุณภาพ ที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้ออย่างมีประสิทธิภาพ เราเพิ่มกล้ามเนื้อได้ง่ายๆ หากเข้าใจ 4 กระบวนการดังนี้


1. การทำลายกล้ามเนื้อ
เกิดขึ้นเมื่อมีการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น ยกน้ำหนัก ซิตอัป สควอต วิดพื้น ทำให้เกิดรอยแตกเล็กๆ ในเส้นใยกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการซ่อมแซมและเพิ่มการเติบโตของกล้ามเนื้อ
ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ช่วยในกระบวนการนี้
เสริมก่อนออกกำลังกายด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของไอโซมอทูโลส มีส่วนช่วยเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ ทำให้ออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. การกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดของกล้ามเนื้อ
เซลล์ต้นกำเนิดจะถูกกระตุ้นโดยการออกกำลังกาย เมื่อถูกกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดจะแบ่งตัวอยู่รอบๆ เส้นใยกล้ามเนื้อเพื่อเตรียมการซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่เสียหาย

3. การสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ
คือกระบวนการที่ร่างกายสร้างโปรตีนกล้ามเนื้อใหม่จากกรดอะมิโน โปรตีนเป็นองค์ประกอบหลักของเส้นใยกล้ามเนื้อ ซึ่งกระบวนการนี้มีความสำคัญต่อการสร้างกล้ามเนื้อ โดยมีกระบวนการในการทำงาน ดังนี้
ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ช่วยในกระบวนการนี้
หลังออกกำลังกายควรเสริมด้วยโปรตีนจากพืชที่มีโปรตีนสูงถึง 16 กรัมต่อช้อน อีกทั้งมี BCAA (กลุ่มกรดอะมิโนจำเป็น) ซึ่งมีหน้าที่ในการช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อและลดอัตราการสลายของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ควรรับประทานกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายดูดซึมได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการย่อย ทำให้กล้ามเนื้อได้รับสารอาหารเข้าไปอย่างรวดเร็วภายใน 30 นาทีหลังจากออกกำลังกาย

4. การซ่อมแซมและการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
หลังจากผ่านมา 3 กระบวนการแล้ว ก็ถึงเวลาที่กล้ามเนื้อจะถูกซ่อมแซมและเสริมสร้างโดยที่เซลล์ต้นกำเนิดจะรวมกับเส้นใยกล้ามเนื้อที่ถูกทำลาย ผสมผสานกันด้วยโปรตีนและกรดอะมิโนต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อมีขนาดเพิ่มขึ้นและแข็งแรงมากขึ้น
ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ช่วยในกระบวนการนี้
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส้มสีเลือด และ แอล-กลูตามีน ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการลดไขมัน ทำให้กล้ามเนื้อของคุณดูคมชัดมากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีแอล-กลูตามีน ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อและทำให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวเร็วขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับการออกกำลังกายของคุณในครั้งต่อไป!

การเสริมสร้างกล้ามเนื้อเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย การพักผ่อน และการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ ประสิทธิภาพของการเสริมสร้างหรือเพิ่มกล้ามเนื้อจะดียิ่งขึ้นหากมีการเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคุณภาพ มีส่วนประกอบสำคัญ อาทิ สารสกัดจากไอโซมอทูโลส แอล-กลูตามีน ส้มสีเลือด กรดอะมิโนจำเป็น และโปรตีน ซึ่งการเข้าใจกระบวนการเหล่านี้จะทำให้สร้างกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลอ้างอิงของบทความ
  • Bazgir B, Fathi R, Rezazadeh Valojerdi M, Mozdziak P, Asgari A. Satellite Cells Contribution to Exercise Mediated Muscle Hypertrophy and Repair. Cell J. 2017 Winter;18(4):473-484. doi: 10.22074/cellj.2016.4714. Epub 2016 Sep 26. PMID: 28042532; PMCID: PMC5086326.
  • Kadi F, Schjerling P, Andersen LL, Charifi N, Madsen JL, Christensen LR, Andersen JL. The effects of heavy resistance training and detraining on satellite cells in human skeletal muscles. J Physiol. 2004 Aug 1;558(Pt 3):1005-12. doi: 10.1113/jphysiol.2004.065904. Epub 2004 Jun 24. PMID: 15218062; PMCID: PMC1665027.